สพป.จันทบุรี เขต 1 IMG จังหวัดจันทบุรี About Contact Log in
IMG-LOGO

ความรู้ด้านกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการ ฉบับที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

โดย สุภาวดี อ่องโอภาส - 5 มีนาคม 2563 - อ่าน 382 ครั้ง




อํานาจดุลพินิจของผู้บังคับบัญชา

          โดยที่การดําเนินการใดๆ ในหน่วยงานทางปกครองนั้นย่อมจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งสาธารณะ (Public Interest) และเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยส่วนรวมนั่นเอง จะเห็นได้ว่ารัฐสมัยใหม่ที่ปกครองโดยกฎหมายหรือที่เรียกว่า "นิติรัฐ” นั้นจําเป็นจะต้องยึดถือหลักการสําคัญบนพื้นฐานที่ว่า "การกระทําทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย” ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะกระทําการใดๆ ก็ต่อเมื่อกฎหมายให้อํานาจไว้เท่านั้น การกระทําที่ปราศจากอํานาจที่กฎหมายให้ไว้ย่อมเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งกฎหมายที่ให้อํานาจฝ่ายปกครองนั้น สามารแบ่งได้เป็น ๒ ประการกล่าวคือ อํานาจผูกพันและอํานาจดุลพินิจ

          อํานาจผูกพัน หมายถึง อํานาจใดๆ ที่กฎหมายบัญญัติให้ฝ่ายปกครองจะต้อง กระทําการหรือไม่กระทําการในเรื่องใด โดยปกติกฎหมายมักใช้ถ้อยคําว่า "ต้อง” "ให้” เช่น มาตรา ๙๘ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติว่า "การดําเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาซึ่งมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทําผิดทางวินัยให้ผู้บังคับบัญชาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน...” ซึ่งถือเป็นการบังคับว่าผู้บังคับบัญชาจะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อทําการสอบสวนในเรื่องนั้นๆการไม่ปฏิบัติตามย่อมเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่

          ส่วนอํานาจดุลพินิจนั้น หมายถึง อํานาจที่เกิดจากการวิเคราะห์ข้อมูลของฝ่ายปกครองที่ได้มาอย่างเพียงพอแล้วใช้อํานาจในการตัดสินใจที่จะกระทําการหรือไม่กระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยในการใช้อํานาจดุลพินิจดังกล่าวจะต้องกระทําอย่างอิสระไม่ตกอยู่ภายใต้การชี้นํา หรือแนวทางที่ฝ่ายปกครองได้วางไว้แล้ว โดยปกติกฎหมายมักบัญญัติถ้อยคําว่า "สามารถ” "ก็ให้....ได้” เป็นต้น ซึ่งในการใช้ดุลพินิจนั้น เมื่อกฎหมายได้บัญญัติให้ฝ่ายปกครองใช้อํานาจในเรื่องใดแล้ว ฝ่ายปกครองจะต้องใช้อํานาจดุลพินิจในเรื่องนั้นนั้น จะปฏิเสธไม่ใช่ไม่ได้

          ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ นั้น ได้บัญญัติให้อํานาจแก่ผู้บังคับบัญชาทั้งที่เป็นอํานาจผูกพันและทั้งที่เป็นอํานาจดุลพินิจ ซึ่งผู้บังคับบัญชาจะต้องใช้อํานาจดังกล่าวอย่างถูกต้อง เหมาะสมและเป็นธรรม

           อํานาจผูกพันนั้น ในทางปฏิบัติแล้วมักจะไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไหร่นัก เพราะผู้บังคับบัญชาจะต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายบัญญัติไว้อยู่แล้ว แต่สําหรับอํานาจดุลพินิจนั้นมักจะมีปัญหาว่าผู้บังคับบัญชาจะสามารถใช้อํานาจดังกล่าวได้กว้างขวางมากน้อยเพียงใด ซึ่งในการใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชานั้น หากเป็นการใช้โดยไม่มีขอบเขตหรือใช้อย่างตามอําเภอใจแล้ว ย่อมจะมีผลเป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิของผู้ใต้บังคับบัญชาหรือต่อบุคคลผู้รับบริการได้ ดังนั้นเพื่อให้การใช้ดุลพินิจดังกล่าวเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสมและเกิดความเป็นธรรมในทางกฎหมายปกครองจึงได้วางหลักในการใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาไว้ ประกอบด้วยหลัก ๓ หลัก กล่าวคือ

๑. หลักแห่งความเหมาะสม หมายถึง ผู้บังคับบัญชาจะต้องพิจารณาว่าสิ่งที่จะต้องตัดสินใจกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น มีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด เช่น ในการใช้ดุลพินิจพิจารณากําหนดโทษทางวินัยไม่ร้ายแรงที่จะลงโทษแก่ผู้กระทําผิด ซึ่งผู้บังคับบัญชาสามารถลงโทษทางวินัยได้ตั้งแต่โทษลดเงินเดือน ตัดเงินเดือน หรือภาคทัณฑ์นั้น ผู้บังคับบัญชาจะต้องพิจารณาว่าสมควรจะลงโทษลดเงินเดือน ตัดเงินเดือน หรือภาคทัณฑ์ ถ้าการกระทําเป็นความผิดเล็กน้อยสมควรลงโทษภาคทัณฑ์ แต่ผู้บังคับบัญชา
สั่งลงโทษลดเงินเดือน หรือโทษตัดเงินเดือน ย่อมเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ

๒. หลักแห่งความจําเป็น หมายถึง ความจําเป็นในการตัดสินใจใช้อํานาจ ซึ่งหากไม่ใช่จะเกิดความเสียหายต่อทางราชการ เช่น ในการใช้อํานาจดุลพินิจย้ายหัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคลไปดํารงตําแหน่งหัวหน้ากลุ่มส่งเสริมนอกจากจะต้องพิจารณาถึงความรู้ความสามารถของบุคคลนั้นแล้ว จะต้องพิจารณาถึงความจําเป็นด้วยว่าจะเกิดประโยชน์ต่อทางราชการอย่างไร เป็นต้น

๓. หลักแห่งความได้สัดส่วน หมายถึง ประโยชน์ที่จะเกิดแก่ทางราชการ ซึ่งจะต้องชั่งน้ําหนักว่าระหว่างประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่ทางราชการกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้ถูกกระทบสิทธินั้น สิ่งใดจะมีความรุนแรงมากกว่ากัน ถ้าหากว่าสิ่งที่ผู้บังคับบัญชาจะต้องกระทํานั้นเป็นประโยชน์ต่อทางราชการมากกว่า แม้การกระทํานั้นจะกระทบกระเทือนต่อสิทธิของปัจเจกชนอยู่บ้าง ผู้บังคับบัญชาย่อมต้องเลือกเอาประโยชน์ของทางราชการเป็นหลัก แต่ถ้าหากผลที่เกิดขึ้นจากการกระทํานั้นไม่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการเลย หรือมีประโยชน์น้อยมากเมื่อเทียบกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับปัจเจกชนหรือต่อผู้ถูกกระทบสิทธิ ผู้บังคับบัญชาจะต้องเลือกกระทําในสิ่งที่จะให้ประโยชน์แก่ปัจเจกชนนั้นเช่น ในมาตรา ๑๐๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้บัญญัติให้อํานาจดุลพินิจแก่ผู้บังคับบัญชาที่จะลงโทษทางวินัยไม่ร้ายแรงแก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้กระทําผิดวินัยได้ตั้งแต่โทษภาคทัณฑ์ไปจนถึงโทษลดเงินเดือน แต่ถ้าในกรณีที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษานั้น ไม่เคยกระทําความผิดทางวินัยมาก่อนและผู้บังคับบัญชาเห็นว่าการกระทําเป็นความผิดวินัยเล็กน้อยกฎหมายก็บัญญัติให้อํานาจผู้บังคับบัญชา สามารถใช้ดุลพินิจลงโทษภาคทัณฑ์หรือจะงดโทษโดยให้ว่ากล่าวตักเตือน(ซึ่งไม่ใช่โทษทางวินัย) ก็ได้ ในกรณีเช่นนี้
ผู้บังคับบัญชาจะต้องชั่งน้ําหนักดูก่อนว่า หากจะลงโทษภาคทัณฑ์ข้าราชการรายดังกล่าวแล้ว รัฐจะได้ประโยชน์หรือ

          เสียประโยชน์จากการลงโทษนั้นหรือไม่ ซึ่งหากพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้จะลงโทษไปรัฐก็ไม่ได้ประโยชน์หรือเสีย
ประโยชน์อันใดเลย แต่การลงโทษเช่นนั้นกลับจะเป็นผลร้ายต่อข้าราชการรายดังกล่าวมากกว่า ทั้งนี้เนื่องจากข้าราชการ
รายดังกล่าวต้องถูกบันทึกลงในทะเบียนประวัติว่าเคยกระทําความผิดทางวินัยมาก่อน ดังนี้ ผู้บังคับบัญชาจะต้องเลือกใช้อํานาจในทางที่เป็นคุณแก่ข้าราชการรายนั้น นั่นก็คือจะต้องงดโทษ และให้ว่ากล่าวตักเตือนแทนการลงโทษภาคทัณฑ์ เป็นต้นดังนั้น จะเห็นได้ว่า หลักในการใช้อํานาจดุลพินิจนั้นเมื่อกฎหมายให้อํานาจดุลพินิจแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองคนใด
แล้ว เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองคนนั้นจะต้องไม่ใช้อํานาจดังกล่าวตามอําเภอใจแต่จะต้องใช้อํานาจอย่างมีเหตุผล โดยคํานึงถึงหลักแห่งความเหมาะสม หลักแห่งความจําเป็น และหลักแห่งความได้สัดส่วน ซึ่งหากเมื่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองได้ใช้อํานาจดุลพินิจตามหลักการดังกล่าวมาแล้ว ย่อมจะเป็นหลักประกันความเป็นธรรมและความยุติธรรมให้แก่ผู้ใช้บริการจาก
หน่วยงานของรัฐได้อย่างแน่แท้แหล่งที่มา : สํานักงาน ก.ค.ศ. เกร็ดความรู้เกี่ยวกับกฎหมายคําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.67/2547 การดําเนินการทางวินัยให้รีบดําเนินการโดยเร็ว ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการสอบสวนเสนอสํานวนการสอบสวนแล้วเป็นอํานาจของผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนที่จะสั่งการโดยเร็ว โดยไม่จําต้องรอผลการพิจารณาทางอาญาก่อน เพราะกระบวนการพิจารณาทางวินัยและทางอาญามีความแตกต่างกัน การรับฟังพยานหลักฐานก็แตกต่างกัน ทั้งการมีอยู่ของพยานหลักฐานและการให้ถ้อยคําหรือการเบิกความของพยานอาจจะมีความแตกต่างกัน


ผู้รวบรวม นางสุภาวดี อ่องโอภาส
ปฏิบัติหน้าที่ผู้อํานวยการกลุ่มกฎหมายและคดี
จัดทําโดย กลุ่มกฎหมายและคดี สพป.จันทบุรี เขต 1





Leave a Comment

อีแปะมีชีวิต

C Shop สินค้า 1 โรงเรียน 1 ผลิตภัณฑ์


MOE SAFETY CENTER

ข่าวกลุ่มนโยบายและแผน สพป.จันทบุรี เขต 1

IMG


บทความโดย สุภาวดี อ่องโอภาส


IMG
สุภาวดี อ่องโอภาส

บทความอื่นของ สุภาวดี