สพป.จันทบุรี เขต 1 IMG จังหวัดจันทบุรี About Contact Log in
IMG-LOGO

คลินิกวิชาการสารสัมพันธ์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 24 | กลุ่มนิเทศฯ สพป.จันทบุรี เขต 1

โดย นพรัตน์ ดาวไสว - 4 กรกฏาคม 2567 - อ่าน 314 ครั้ง

คลินิกวิชาการสารสัมพันธ์

กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1

ปีที่ 2 ฉบับที่ 24 วันที่ 4 ก.ค. 2567

วิสัยทัศน์ "นิเทศการศึกษาแนวใหม่ ใช้กระบวนการวิจัยและเทคโนโลยีเป็นฐาน ประสานเครือข่าย พัฒนาก้าวไกล สู่ Thailand 4.0"


          วันที่ 27 พฤษภาคม 2567  นายกฤษฏิพงศ์ มาตะรักษ์  รองผอ.สพป.จันทบุรี เขต 1  เป็นประธานการประชุมการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามโครงการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21  โดยบูรณาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (ACTIVE LEARNING) เพื่อเพิ่มศักยภาพผู้เรียน  ผ่านทางออนไลน์  มีทีมศึกษานิเทศก์เข้าร่วมประชุม โดยมีนางนันทวรรณ คอนหน่าย เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ  ณ ห้องประชุม TEPE Online  สพป.จันทบุรี เขต 1

 

          วันที่ 7 มิถุนายน 2567  นายกฤษฏิพงศ์ มาตะรักษ์  รองผอ.สพป.จันทบุรี เขต 1  เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาความฉลาดรู้ด้านการอ่าน ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์  และความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนตามแนวทางการประเมิน PISA 2025  โดยมีคณะศึกษานิเทศก์ และผอ.โรงเรียนของเขตพื้นที่ฯ  เข้าร่วมการประชุม  ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 1  สพป.จันทบุรี เขต 1

 

          วันที่ 10 มิถุนายน 2567  นายสุริยนต์ กัลยาณี  ผอ.สพป.จันทบุรี เขต 1  เป็นประธานในการร่วมต้อนรับและแสดงความยินดีเนื่องในโอกาส  นางสาวพรรณี หรี่จินดา  ย้ายมาดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  โดยมีคณะศึกษานิเทศก์ ร่วมให้การต้อนรับ  ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3  สพป.จันทบุรี เขต 1



          วันที่ 14 มิถุนายน 2567  นายสุริยนต์ กัลยาณี  ผอ.สพป.จันทบุรี เขต 1  เป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความเข้าใจการดำเนินงานโรงเรียนคุณภาพตามนโยบาย (1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ)  มีทีมศึกษานิเทศก์เข้าร่วมประชุม โดยมีนางมลฑา ศรีเสริม เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ  ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 1  สพป.จันทบุรี เขต 1


-------------------------------------------------------------------------

แนวทางการดำเนินการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

นางธิติกาญจน์  พัฒน์อมรไชย

มาตรฐานการนิเทศภายในสถานศึกษา

          การวางแผนการนิเทศภายในสถานศึกษาเป็นกระบวนการสำคัญที่จะต้องดำเนินการเพื่อแสดงถึงการบริหารจัดการระบบการดำเนินงานของสถานศึกษา ซึ่ง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดมาตรฐานในการนิเทศภายในสถานศึกษาได้ ดังนี้

          มาตรฐานที่1กำหนดผู้รับผิดชอบงานนิเทศภายในของสถานศึกษา

          มาตรฐานที่2ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการวางแผนการนิเทศ

          มาตรฐานที่3วางแผนการนิเทศที่ตอบสนองความต้องการพัฒนาครูและสถานศึกษา

          มาตรฐานที่4 ดำเนินการตามแผนการนิเทศ

          มาตรฐานที่5 ประเมินผลและนำผลการปรับปรุงการนิเทศ

มาตรฐานที่ 1 กำหนดผู้รับผิดชอบงานนิเทศภายในของสถานศึกษา

          สถานศึกษาผู้รับผิดชอบงานนิเทศภายในสถานศึกษาและมีคำสั่งแต่งตั้งเป็นลายลักษณ์อักษร

            - ให้มีคณะกรรมการรับผิดชอบงานนิเทศภายในสถานศึกษาและมีคำสั่งแต่งตั้ง

            - บุคลากรที่ได้รับการแต่งตั้งมีคุณสมบัติเหมาะสม

            - มีการกำหนดภาระงานและความรับผิดชอบไว้ชัดเจน

            - บุคลากรที่ได้รับมอบหมายงานเข้าใจภาระงาน แสดงความรับผิดชอบงานนิเทศภายใน

            - คณะครูในสถานศึกษามีส่วนร่วมในการสรรหาผู้รับผิดชอบงานนิเทศภายใน

มาตรฐานที่ 2 ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการวางแผนการนิเทศ

          สถานศึกษาควรมีระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการวางแผนการนิเทศ ดังนี้

            1.ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้ในการนิเทศดังนี้

               1.1 ข้อมูลแสดงสภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู

               1.2 ข้อมูลแสดงความต้องการพัฒนาของครู

               1.3 นโยบายของหน่วยงานระดับเหนือในการพัฒนาครู

            2.ข้อมูลสอดคล้องกับความเป็นจริง

            3.การจัดเก็บข้อมูลสะดวกและนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที

            4.มีการนำข้อมูลที่ได้เก็นรวบรวมมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนนิเทศ

            5.มีข้อมูลย้อนกลับอย่างน้อย 2 ปี

มาตรฐานที่ 3 วางแผนการนิเทศที่ตอบสนองความต้องการพัฒนาครูและสถานศึกษา

          การวางแผนการนิเทศภายในสถานศึกษา มีสาระสำคัญ ดังนี้

            1.ความสำคัญและความจำเป็นต้องพัฒนาครู

            2. จุดเน้นที่ต้องการพัฒนา

            3.กิจกรรมนิเทศและรายละเอียดของแต่ละกิจกรรม ได้แก่ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ขั้นตอน การดำเนินงาน ระยะเวลา สื่อและเครื่องมือที่จำเป็น วิธีการวัดประเมินผลกิจกรรมการนิเทศ

            4.แผนนิเทศของสถานศึกษาตอบสนองการพัฒนาของครูและของสถานศึกษา

            5.บุคลากรมีส่วนร่วมในการวางแผนการนิเทศตามบทบาทหน้าที่ของตน

            6.การเขียนสาระสำคัญขอแผนการนิเทศแต่ละส่วนสอดคล้องสัมพันธ์กัน

มาตรฐานที่ 4 ดำเนินการตามแผนการนิเทศ

          การดำเนินการตามแผนการนิเทศ มีสาระสำคัญ ดังนี้

            1. ผู้รับผิดชอบดำเนินการตามแผนการนิเทศ

            2.ผู้รับผิดชอบรับทราบและดำเนินการตามแผนการนิเทศ

            3.คณะครูรับทราบแผนการนิเทศของสถานศึกษา

            4.ผู้นิเทศดำเนินการได้ตามแผนการนิเทศ

            5.มีการบันทึกการดำเนินการและผลการดำเนินการของแต่ละกิจกรรม

มาตรฐานที่ 5 ประเมินผลและนำผลการปรับปรุงการนิเทศ

          1.มีการวางแผนประเมินผลแผนนิเทศ

          2.แผนการประเมินผลแผนนิเทศ ประกอบด้วย

            2.1สิ่งที่จะประเมิน

            2.2 สภาพความสำเร็จ และเกณฑ์การประเมิน

            2.3วิธีการและเครื่องมือประเมิน

            2.4แหล่งข้อมูลผู้ประเมิน

          3.มีรายงานผลแผนนิเทศของสถานศึกษาที่ครอบคลุมสาระสำคัญ ดังนี้

            3.1แผนการนิเทศปีการศึกษาที่จะประเมิน

            3.2การดำเนินการตามแผนนิเทศและผลการดำเนินการของแต่ละกิจกรรม

            3.3ผลตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมการนิเทศแต่ละกิจกรรม

            3.4อุปสรรค/ปัญหาในการดำเนินการ

          4.คณะครูมีส่วนร่วมในกิจกรรมการประเมิน

          5.นำผลการประเมินไปพิจารณาวางแผนนิเทศของสถานศึกษาในปีต่อไป

          เพื่อให้การนิเทศเป็นไปตามมาตรฐานแผนการนิเทศเปรียบเสมือนเข็มทิศของการนิเทศ ซึ่งต้องวางแผนโดยอิงหลักการ ทฤษฎี เทคนิควิธีการที่เกี่ยวข้องกับการนิเทศ เพื่อให้ได้แผนการนิเทศที่ดี มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับบริบทและความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานของสถานศึกษา


-------------------------------------------------------------------------

ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลการตอบคำถามของสัปดาห์ที่ผ่านมา





 


 


 


 


 


Leave a Comment

เห็ดสามรส โป่งวัว

C Shop สินค้า 1 โรงเรียน 1 ผลิตภัณฑ์


MOE SAFETY CENTER

ข่าวกลุ่มนโยบายและแผน สพป.จันทบุรี เขต 1

IMG


บทความโดย นพรัตน์ ดาวไสว


IMG
นพรัตน์ ดาวไสว

บทความอื่นของ นพรัตน์