สพป.จันทบุรี เขต 1 IMG จังหวัดจันทบุรี About Contact Log in
IMG-LOGO

คลินิกวิชาการสารสัมพันธ์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 14 | กลุ่มนิเทศฯ สพป.จันทบุรี เขต 1

โดย นพรัตน์ ดาวไสว - 4 เมษายน 2567 - อ่าน 307 ครั้ง

คลินิกวิชาการสารสัมพันธ์

กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1

ปีที่ 2 ฉบับที่ 14 วันที่ 4 เม.ย. 2567

วิสัยทัศน์ "นิเทศการศึกษาแนวใหม่ ใช้กระบวนการวิจัยและเทคโนโลยีเป็นฐาน ประสานเครือข่าย พัฒนาก้าวไกล สู่ Thailand 4.0"


          วันที่ 14 มีนาคม 2567  ศน.วริทธิ์นันท์ วิทยม  และคณะศึกษานิเทศก์  สพป.จันทบุรี เขต 1  ประชุมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการถ่ายทำคลิปวีดิโอมัคคุเทศก์น้อยพาทัวร์  ณ ห้องถ่ายทอดสด TEPE  สพป.จันทบุรี เขต 1


          วันที่ 13-14 มีนาคม 2567  นางนันทวรรณ คอนหน่าย  ศึกษานิเทศก์  สพป.จันทบุรี เขต 1  ร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนาการนิเทศการศึกษาฯ  ณ โรงแรม First Pacific Hotel & Convention Pattaya Chonburi  จังหวัดชลบุรี


          วันที่ 14 มีนาคม 2567  นางสาวอัญชัญ ชูช่วย  ศึกษานิเทศก์  สพป.จันทบุรี เขต 1  ร่วมการประชุมจัดทำแผนบูรณาการการจัดการศึกษาเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในจังหวัดจันทบุรีร่วมกับภาคีเครือข่าย  ณ ห้องประชุมจันทบูร  ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดจันทบุรี


          วันที่ 15 มีนาคม 2567  นางมลฑา ศรีเสริม  และนางสาวพรรณิภา เจริญทวี  ศึกษานิเทศก์  สพป.จันทบุรี เขต 1  นิเทศ กำกับ และติดตามการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560  ปีการศึกษา 2566   ณ รร.วัดคมบาง และรร.วัดเขาน้อย


          วันที่ 20 มีนาคม 2567  นางสาวเพลินพิศ กอบตระกูล  ศึกษานิเทศก์  สพป.จันทบุรี เขต 1  ร่วมเป็นคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง (PA)  ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  ตำแหน่งศึกษานิเทศก์  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567  ณ ห้องประชุมทวีผล  สพม.จันทบุรี ตราด


          วันที่ 20-23 มีนาคม 2567  นางสาวสกุลยา ผลบุญ  และนางสาวพรรณิภา เจริญทวี  ศึกษานิเทศก์  สพป.จันทบุรี เขต 1  ร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นเฉพาะทางสำหรับ LN และ LT  โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย  ระดับประถมศึกษา  ปีงบประมาณ 2567  ณ โรงแรมบางกอกพาเลส กรุงเทพมหานคร


-------------------------------------------------------------------------


มารู้จัก "รางวัล IQA AWARD” กันเถอะ

กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

นางธิติกาญจน์  พัฒน์อมรไชย


          สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักทดสอบทางการศึกษา มีพันธกิจในการส่งเสริมสนับสนุนระบบการประกันคุณภาพของเขตพื้นที่การศึกษาให้มีประสิทธิภาพ และส่งเสริม สนับสนุนการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาให้เข้มแข็ง จึงดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของสถานศึกษาให้มีความเข้มแข็ง และเป็นไปตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ด้วยการคัดเลือกสถานศึกษาที่มีระบบและกลไกการบริหารจัดการคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพรางวัล IQA AWARD ซึ่งดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 โดยในช่วงแรกการคัดเลือกสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลIQA AWARD จะดำเนินการเฉพาะสถานศึกษาทั่วไป และตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นมา จึงได้ ดำเนินการคัดเลือกสถานศึกษาครอบคลุม 4 ประเภทการจัดการศึกษา โดยให้คัดเลือกสถานศึกษาจัดการศึกษาสงเคราะห์ สถานศึกษาจัดการศึกษาเฉพาะความพิการ และ ศูนย์การศึกษาพิเศษ เพื่อรับรางวัล IQA AWARD เพิ่มเติมด้วย ซึ่งทำให้ปัจจุบันมีสถานศึกษา รางวัล IQA AWARD ระดับยอดเยี่ยม มากกว่า 1,350 แห่ง ครอบคลุมทุกประเภทการจัดการศึกษา โดยการคัดเลือกสถานศึกษาที่มีระบบและกลไกการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาได้เหมาะสมตามบริบทของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ จนเป็นวัฒนธรรมคุณภาพ และได้รับการยอมรับจากสถานศึกษาอื่นในสังกัด เพื่อรับรางวัล IQA AWARD กำหนดให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษดำเนินการตามแนวทางการคัดเลือกสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลIQA AWARD สำหรับสถานศึกษาจัดการศึกษาทั่วไป สถานศึกษาจัดการศึกษาสงเคราะห์ สถานศึกษาเฉพาะความพิการ และศูนย์การศึกษาพิเศษ มีขั้นตอนดำเนินการตั้งแต่การแต่งตั้งคณะกรรมการคัดกรองและคณะกรรมการคัดเลือก เพื่อคัดกรองสถานศึกษา และคัดเลือกสถานศึกษาตาม 5 องค์ประกอบ

          คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา สถานศึกษาจัดการศึกษาทั่วไปภายในสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ และมีการจัดการศึกษาที่ส่งผลให้ผู้เรียนและ สถานศึกษามีคุณภาพที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีนวัตกรรม (Innovation) หรือการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ที่สะท้อนประสิทธิผลตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ที่ปรากฏชัดเจนจนเกิดเป็นวัฒนธรรมคุณภาพของการปฏิบัติงาน ส่งผลให้นักเรียน ผู้บริหาร สถานศึกษา และครูมีคุณภาพและประสิทธิภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จนเป็นที่ยอมรับและเป็นแบบอย่างด้านการประกันคุณภาพการศึกษาซึ่งสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลIQA AWARD ระดับยอดเยี่ยม ดีเด่น และชมเชย จะได้รับ การบันทึกชื่อ ลงในทำเนียบสถานศึกษารางวัลIQA AWARD และสรุประบบและกลไก การบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อเผยแพร่ระบบกลไก และกระบวนการพัฒนา โดยมีนวัตกรรม (Innovation) หรือการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) กระบวนการดำเนินงานที่นำไปสู่ความสำเร็จ และข้อเสนอแนะต่อการพัฒนา และการนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ คลังสารสนเทศ สถานศึกษา IQA AWARD ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะเป็น คลังสารสนเทศด้านคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาที่จะมีประโยชน์ต่อการศึกษาเป็นแบบอย่างและเป็นแนวทางให้สถานศึกษาในสังกัดและผู้ที่สนใจเข้าศึกษาและใช้เป็น ข้อมูลเพื่อนำไปปรับประยุกต์ใช้ต่อไป


          คุณสมบัติของสถานศึกษารางวัล IQA AWARD

               สถานศึกษาที่จะได้รับการคัดเลือกให้ได้ รับรางวัล IQA AWARD เป็นสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาและมีคุณสมบัติ ดังนี้ 

                    1. มีระบบการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา และสามารถบริหารจัดการศึกษาได้คุณภาพและมีประสิทธิภาพตามองค์ประกอบต่อไปนี้ 

                         องค์ประกอบที่ 1 การกำหนดมาตรฐานสถานศึกษาและเป้าหมายคุณภาพ 

                         องค์ประกอบที่ 2 การขับเคลื่อนคุณภาพสู่มาตรฐาน

                         องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการตรวจสอบความสำเร็จตามมาตรฐานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

                         องค์ประกอบที่ 4 ภาพความสำเร็จของสถานศึกษาต่อวงวิชาการ

                         องค์ประกอบที่ 5 การเกิดวัฒนธรรมคุณภาพที่สะท้อนการพัฒนาที่ยั่งยืน

               สถานศึกษาที่จะได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลIQA AWARD เป็นสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และมีคุณสมบัติดังนี้

                    2. มีการจัดการศึกษาที่ส่งผลให้ผู้เรียนและสถานศึกษามีคุณภาพ ดังต่อไปนี้

                         2.1 ผู้เรียนมีพัฒนาการของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรเฉลี่ย สูงขึ้นกว่าเป้าหมายหรือรักษาสภาพสูงสุดในทุกระดับชั้นได้อย่างต่อเนื่อง

                         2.2 สถานศึกษามีระบบการประกันคุณภาพภายใน ตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ ที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับบริบทและ ความต้องการจำเป็นของสถานศึกษา

                         2.3 สถานศึกษามีพัฒนาการของผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของทุกมาตรฐานการศึกษาสูงกว่าเป้าหมายหรือรักษาสภาพสูงสุดได้อย่างต่อเนื่อง

                         2.4 สถานศึกษามีนวัตกรรม (Innovation) หรือมีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่สะท้อนประสิทธิผลตามมาตรฐานการศึกษาของ สถานศึกษาที่ปรากฏชัดเจน

                         2.5 สถานศึกษามีความพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา และมีผลการประเมินในทุกมาตรฐานการศึกษา ระดับดีขึ้นไป

                         2.6 สถานศึกษาได้รับการยอมรับให้เป็นสถานศึกษาแกนนำและเป็นแบบอย่างด้านการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา


-------------------------------------------------------------------------

ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลการตอบคำถามของสัปดาห์ที่ผ่านมา

 


 


 

 


 


 


 


 


Leave a Comment

สบู่สมุนไพร สูตรขมิ้น

C Shop สินค้า 1 โรงเรียน 1 ผลิตภัณฑ์


MOE SAFETY CENTER

ข่าวกลุ่มนโยบายและแผน สพป.จันทบุรี เขต 1

IMG


บทความโดย นพรัตน์ ดาวไสว


IMG
นพรัตน์ ดาวไสว

บทความอื่นของ นพรัตน์