สพป.จันทบุรี เขต 1 IMG จังหวัดจันทบุรี About Contact Log in
IMG-LOGO

คลินิกวิชาการสารสัมพันธ์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 | กลุ่มนิเทศฯ สพป.จันทบุรี เขต 1

โดย นพรัตน์ ดาวไสว - 8 มกราคม 2567 - อ่าน 799 ครั้ง

คลินิกวิชาการสารสัมพันธ์

กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1

ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 วันที่ 11 ม.ค. 2567

วิสัยทัศน์ "นิเทศการศึกษาแนวใหม่ ใช้กระบวนการวิจัยและเทคโนโลยีเป็นฐาน ประสานเครือข่าย พัฒนาก้าวไกล สู่ Thailand 4.0"


          วันที่ 3 มกราคม 2567 โดย นางสาวเพ็ญนภา วิสารวุฒิ  ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดเนินโพธิ์  มอบของขวัญสวัสดีปีใหม่ แด่คณะศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 


 

          วันที่ 5 มกราคม 2567 คณะศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  โดย นางมลฑา ศรีเสริม  นางนันทวรรณ คอนหน่าย  และนายวริทธิ์นันท์ วิทยม ร่วมแสดงความยินดีกับ ว่าที่ร้อยตรีคมสันต์ ทะลายรัมย์  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านซอยสอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1  เนื่องในโอกาสย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอ่าวใหญ่พิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด  ณ โรงเรียนอ่าวใหญ่พิทยาคาร จังหวัดตราด 


          วันที่ 8 มกราคม 2567 นางลัดดาวัลย์ วิเศษะภูติ รองผอ.สพป.จันทบุรี เขต 1  พร้อมด้วย นางขวัญฤดี ไชยชาญ ผอ.กลุ่มนิเทศฯ  นางมนัสนันท์ เกิดเอี่ยม ผอ.โรงเรียนวัดแสลง  และนางมลฑา ศรีเสริม  ศึกษานิเทศก์  เข้าพบปะพูดคุยร่วมกับ นายอุกฤษฎ์ วงษ์ทองสาลี  ประธานหอการค้าจังหวัดจันทบุรี เรื่องการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา รุ่น 3  ระหว่างหอการค้าจังหวัดจันทบุรี กับ โรงเรียนวัดแสลง  ณ สำนักงานหอการค้าจังหวัดจันทบุรี

 


          วันที่ 9 มกราคม 2567  นางสาวพรรณิภา เจริญทวี  และนางนันทวรรณ คอนหน่าย  ศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  ร่วมฝึกซ้อมกีฬาวอลเลย์บอลกับคณะครูโรงเรียนในเครือข่ายอำเภอท่าใหม่  เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าร่วมแข่งขันในกิจกรรมวันครู  ณ โรงเรียนอนุบาลบ้านหนองคล้า


-------------------------------------------------------------------------


การประกันคุณภาพการศึกษา ตอนที่ 3
กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
นางธิติกาญจน์ พัฒน์อมรไชย

กรณีศึกษา การดำเนินการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

ซึ่งขั้นตอนการดำเนินงานพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน เป็นกรณีศึกษา ดังนี้


กรณีศึกษาที่ 1 โรงเรียนอนุบาลคุณภาพ

          โรงเรียนอนุบาลคุณภาพ เป็นโรงเรียนที่เปิดสอนระดับปฐมวัย ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด มีครูและบุคลากร รวม 25 คน มีนักเรียน รวมทั้งสิ้น 325 คน เด็กปฐมวัยมาจากครอบครัวหลากหลายอาชีพ และหลายระดับการศึกษา เด็กส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับปู่ ย่า ตา ยาย เนื่องจากพ่อ แม่ ต้องไปประกอบอาชีพหรือทำงานที่อื่น โรงเรียนอนุบาลคุณภาพเปิดสอน ระดับปฐมวัย 2 ระดับชั้น คือ ชั้นอนุบาล 2 (เด็ก 4-5 ขวบ) และชั้นอนุบาล3 (เด็ก 5-6 ขวบ) ระดับชั้นละ 5 ห้องเรียน รวม 10 ห้อง

          จัดกระบวนการเรียนรู้ปฐมวัยตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) ดำเนินการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษายึดหลักการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM)และแนวคิดเชิงระบบ PDCA จนประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน ตามระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ได้รับการยอมรับจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานการจัดการศึกษาปฐมวัยตามแนวคิดไฮสโคป (HighScope)และได้ทำบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับโครงการลดความเหลื่อมล้ำด้วยการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพ (RIECE Thailand) ดำเนินการวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ปฐมวัยตามแนวคิด ไฮสโคป (High Scope) และเป็นศูนย์ฝึกอบรมครูปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย RIECE Thailand รูปแบบ On-site training ผลการประเมินตนเองในภาพรวมอยู่ในระดับยอดเยี่ยม

          โรงเรียนอนุบาลคุณภาพ มีขั้นตอนการดำเนินงานพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน สรุปได้ดังนี้

               1. ขั้นเตรียมการและสร้างความตระหนัก

                    (1) จัดประชุมครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจถึงความสำคัญของการประกันคุณภาพภายใน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา บทบาท และภารกิจของครู ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษา รวมทั้งสอบถามความคิดเห็นและความสมัครใจ ในการเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

 

                    (2) ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการตามโครงสร้างการบริหารงาน4 งาน ได้แก่ งานวิชาการ งานบุคลากร งานงบประมาณ และงานบริหารทั่วไป มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา คณะกรรมการนิเทศภายใน และคณะกรรมการติดตามตรวจสอบคุณภาพภายใน สถานศึกษา

                    (3) วางแผนการดำเนินงานโดยการจัดทำแผนงาน/โครงการ/ กิจกรรมตามภารงานของคณะกรรมการแต่ละคณะ

               2. ขั้นดำเนินการ

                    (1) กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยยึดมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย เอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของสถานศึกษา จัดทำเป็นมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย จำนวน 3 มาตรฐาน โดยเพิ่มรายละเอียดในประเด็นพิจารณา ข้อ 3.2 ในมาตรฐานที่ 3 เป็น "จัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป(High Scope) โดยยึดหลักการตามวงล้อแห่งการเรียนรู้(Wheel of Learning) ที่เน้นให้เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Participatory Learning) สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ที่มีสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก ส่งเสริมให้เด็กมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ และแก้ปัญหาอย่างสันติวิธีภายใต้บรรยากาศของการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง ครูกับเด็ก”

                    (2) กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายความสำเร็จ และจัดทำแผน พัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มาตรฐานของสถานศึกษา ผลการประเมินภายนอกรอบที่ผ่านมา รวมทั้งข้อเสนอแนะจากการประเมินคุณภาพภายนอก ข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาทุกด้านในส่วนที่เกี่ยวข้องกับครูและเด็กปฐมวัย จุดเด่น และจุดที่ควรพัฒนาของสถานศึกษาของ สภาพปัญหา ความต้องการและ ความคาดหวังของผู้ปกครองและชุมชนที่มีต่อสถานศึกษา

                    (3)จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี โดยจัดทำโครงการ/กิจกรรม ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและงานทั้ง4 งาน ตามภารกิจของสถานศึกษา และระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

                    (4) จัดทำแผนงาน/โครงการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง แบ่งออกเป็น2 ส่วน ดังนี้

                              1) กิจกรรมการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา

                                  - กิจกรรมการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัยตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope)

                                  -กิจกรรมการจัดการประชุมปฏิบัติการ "เทคนิคการจัดกระบวนการเรียนรู้ปฐมวัยตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope)”

                                  -กิจกรรมการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิด ไฮสโคป (High Scope) โดยใช้กระบวนการ PLC

                                  -กิจกรรมการประเมินและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

                              2) กิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย

                                  - การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope)

                                  - กิจกรรมการพัฒนาผู้ปกครองเด็ก "การอบรมเลี้ยงดูเด็ก ปฐมวัย”

                                  - กิจกรรมพานิทานกลับบ้าน

                                  - กิจกรรมค่ายวิชาการปฐมวัย

                                  - กิจกรรมการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้

                                  - กิจกรรมตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย โดยจัดกิจกรรมกลุ่มย่อย

                                  - กิจกรรมการเยี่ยมบ้านเด็กปฐมวัย

                                  - กิจกรรมการประเมินพัฒนาการ และการจบหลักสูตร การศึกษาปฐมวัย

                    (5) ดำเนินการตามแผนงาน/โครงการอย่างต่อเนื่อง มีการประชุม คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ได้แก่ ประชุมครู วางแผนการจัดกิจกรรมตามกิจวัตรประจำวัน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ประชุมครู เพื่อการปรับปรุง แก้ไขปัญหาเด็กปฐมวัย เดือนละ 1 ครั้ง ประชุมคณะกรรมการ ติดตามตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษาภาคเรียนละ 1 ครั้ง

               3. ขั้นตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงาน

                    (1) นิเทศติดตามและประเมินผลการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยคณะ กรรมการนิเทศภายในภาคเรียนละ 1 ครั้ง

                    (2) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ PLC และทบทวนหลังการปฏิบัติงาน (AAR)

                    (3) ประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยภาคเรียนละ 1 ครั้ง

                    (4) ประเมินและพัฒนาหลักสูตรโดยคณะครูผู้สอนทุกคน เมื่อสิ้นปีการศึกษา

                    (5)ติดตามตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยคณะกรรมการติดตามตรวจสอบคุณภาพภายใน สถานศึกษาภาคเรียนละ 1 ครั้ง

                    (6) วิเคราะห์ผลการประเมิน เพื่อหาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาและจัดทำรายงานประจำปีเผยแพร่แก่ผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้นสังกัด และสาธารณชน

               4. ขั้นนำสู่การปรับปรุงและพัฒนา

                    นำผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพภายในของสถานศึกษาไป วิเคราะห์จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา เพื่อเป็นข้อมูลสานสนเทศในการวางแผนพัฒนา หลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย รวมทั้งเป็นข้อมูลในการเตรียมรับการประเมินภายนอกรอบต่อไป

 

แผนภาพ กระบวนการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ของโรงเรียนอนุบาลคุณภาพ


กรณีศึกษาที่ 2 โรงเรียนวิถีคุณภาพ
          โรงเรียนขนาดเล็กที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัยถึงประถมศึกษาปีที่6 นักเรียนจำนวน105 คน ซึ่งส่วนมากอาศัยอยู่ในปกครองของปู่ ย่า ตา ยาย ขาดความอบอุ่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ และเสี่ยงต่อการถูกยุบเนื่องจากอยู่ในเขตบริการของโรงเรียนแม่เหล็กที่มีขีดความสามารถในการดึงดูดสูง เป็นความท้าทายที่โรงเรียนต้องแสวงหากลยุทธ์ในการรับมืออย่างรัดกุม จากการวิเคราะห์โอกาสในการพัฒนา โรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียนและครูทุกคนมีจิตวิญญาณของความเป็นครูมีความเข้าใจธรรมชาติของสังคมและการเปลี่ยนแปลง มีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน จึงเกิดรูปแบบการพัฒนาที่เรียบง่ายในวิถีการทำงานปกติอิงแนวคิดร่วมแรงรวมใจกับชุมชน (CommunityCollaborative Approach) และบริหารจัดการหลักสูตรการเรียนการสอนอิงแนวคิดTeam-Teachingและควบคุมคุณภาพด้วยกระบวนการ PLC ทั้งระหว่าง ทีมครูผู้สอน และระหว่างครูกับชุมชน ส่งผลให้นักเรียนมีผลทดสอบระดับชาติทั้ง NT และ O-NET สูงขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปีการศึกษา2561 - 2565 นักเรียนและชุมชนมีความรักและศรัทธาต่อโรงเรียน เข้ามาร่วมแรงร่วมพลังพัฒนาคุณภาพการศึกษาของลูกหลานให้ยั่งยืนตลอดไป ดังแสดงในแผนภาพ

แผนภาพ รูปแบบการบริหารงานเชิงระบบ (PDCA) โรงเรียนวิถีคุณภาพ


-------------------------------------------------------------------------




Leave a Comment

อีแปะมีชีวิต

C Shop สินค้า 1 โรงเรียน 1 ผลิตภัณฑ์


MOE SAFETY CENTER

ข่าวกลุ่มนโยบายและแผน สพป.จันทบุรี เขต 1

IMG


บทความโดย นพรัตน์ ดาวไสว


IMG
นพรัตน์ ดาวไสว

บทความอื่นของ นพรัตน์