สพป.จันทบุรี เขต 1 IMG จังหวัดจันทบุรี About Contact Log in
IMG-LOGO

คลินิกวิชาการสารสัมพันธ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 | กลุ่มนิเทศฯ สพป.จันทบุรี เขต 1

โดย นพรัตน์ ดาวไสว - 23 พศจิกายน 2566 - อ่าน 743 ครั้ง

คลินิกวิชาการสารสัมพันธ์

 

กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1

ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 วันที่ 23 พ.ย. 2566

วิสัยทัศน์ "นิเทศการศึกษาแนวใหม่ ใช้กระบวนการวิจัยและเทคโนโลยีเป็นฐาน ประสานเครือข่าย พัฒนาก้าวไกล สู่ Thailand 4.0"

          วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566คณะศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1 โดยนางมลฑา ศรีเสริม นางสาวสกุลยา ผลบุญ นายพรณรงค์ ทรัพย์คง  และนางสาวพรรณิภา เจริญทวี ร่วมเข้าศึกษาดูงานเพื่อศึกษาแหล่งเรียนรู้ภูมิศาสตร์เพื่อการบริหาร นำมาประกอบการบริหารการศึกษาและบริหารสถานศึกษา ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

 


          วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 ดร.ขวัญฤดี ไชยชาญ ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศฯ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่71 ปี 2566  ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1



          วันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 โรงเรียนอนุบาลจันทบุรี ได้จัดโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย(ระดับปฐมวัย) "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยกับหนูน้อย ABCS”  โดยมีนายศักดินันท์ ศรีไพร ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลจันทบุรี ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมด้วยศึกษานิเทศก์โดย ดร.ขวัญฤดี ไชยชาญ นางมลฑา ศรีเสริม นางสาวสกุลยา ผลบุญ นางสาวพรรณิภา เจริญทวี และคณะครูปฐมวัยจากสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ กิจกรรมเต็มไปด้วยความสนุกสนาน และสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียนระดับชั้นปฐมวัย


 

-------------------------------------------------------------------------

โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับปฐมวัย
กลุ่มงานพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและกระบวนการเรียนรู้(การศึกษาปฐมวัย)
นางสาวสกุลยา ผลบุญ

โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับปฐมวัย 

          แนวทางการประเมินเพื่อรับตราพระราชทาน "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” ระดับปฐมวัย ปีการศึกษา 2566                                                                                                                                                                 

          สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา และเครือข่ายโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ได้ดำเนินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับปฐมวัย ตั้งแต่ ปี 2554 – ปัจจุบัน เพื่อปลูกฝังนิสัยรักวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กนักเรียนระดับปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับปฐมวัย จำนวย 9 รุ่น โดยในแต่ละปีโรงเรียนในโครงการจะได้รับการประเมินเพื่อรับตราพระราชทาน "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” ระดับปฐมวัยตามเกณฑ์ของโครงการ คือ การทำกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย อย่างน้อย 20 กิจกรรม การประเมินโครงงานและการจัดทำคลิปvdo สรุปการดำเนินโครงงานฯ ในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน


          ในปีการศึกษา 2566 คณะกรรมการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับปฐมวัย ได้มีมติให้ดำเนินการปรับเปลี่ยนเกณฑ์การประเมินเพื่อขอรับตราพระราชทาน "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย”ระดับปฐมวัย ให้เหมาะสมกับบริบทการดำเนินงานใน 3ด้าน ดังนี้                                                                                                                                                         

            1. เด็กนักเรียนทุกคนตั้งแต่ระดับอนุบาล2 ให้ทำกิจกรรมตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ไม่ต่ำกว่า 10กิจกรรมต่อระดับชั้น โดยทุกระดับชั้น รวมกันไม่ต่ำกว่า 20 กิจกรรม หรือมากว่า ในแต่ละปีการศึกษา ต่อ 1 โรงเรียน                                          

            2. การทำโครงงานโดยใช้กระบวนการสืบเสาะ 6 ขั้นตอนของเด็กปฐมวัย ตามแนวทางบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย อย่างน้อย 1 โครงงาน ต่อ 1 โรงเรียน และจัดทำคลิป vdo สรุปการดำเนินโครงงานฯของเด็กปฐมวัย                     

            3. การดำเนินงานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับปฐมวัย ในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จันทบุรี เขต 1 ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น (LN) ,วิทยากรท้องถิ่น (LT) และคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 เป็นผู้ประเมิน โดยการประเมินจะถือเป็นที่สิ้นสุดในระดับเขตพื้นที่การศึกษา                                                                                                                                                                         

            4. ผู้บริหารสถานศึกษาตอบแบบสอบถามแนวทางการดำเนินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยระดับปฐมวัย

 -------------------------------------------------------------------------

 

เลาะ… "บ้านนักวิทย์น้อยกระตุ้น "เด็กปฐมวัย” กล้าคิดกล้าถาม

          โครงการ "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย”ระดับปฐมวัย เป็นโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาพระราชทานให้คณะกรรมการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย นำไปพิจารณาริเริ่มดำเนินการนำร่องในประเทศไทย โดยพระองค์ท่านได้ทอดพระเนตรตัวอย่างโครงการเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศเยอรมันนี ปี พ.ศ.2552ซึ่งพบว่าเป็นโครงการด้านการศึกษาในระดับปฐมวัยที่ใหญ่ที่สุด ที่ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพ โดยโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับปฐมวัย ได้ออกแบบการทดลองและกิจกรรมอย่างเป็นขั้นตอนและชัดเจน เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังเน้นกิจกรรมที่เด็กสามารถทำการทดลองจากการปฏิบัติด้วยตนเอง ( Hand on ) เด็กสามารถเรียนรู้ได้จากการสังเกต ด้วยประสาทสัมผัส และคำถามต่างๆที่เด็กสงสัย ตลอดจนการแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างเพื่อนในห้องเรียน ได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว และที่สำคัญเมื่อสถานการณ์ หรือสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปจากเดิม เด็กๆ สามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในเหตุการณ์ใหม่ได้ กระบวนการเรียนรู้จะเน้นการเรียนรู้ที่เด็กกับครูผู้สอนเรียนรู้ร่วมกัน มีความสุขและสนุกกับการเรียนรู้ การส่งเสริมให้เด็กได้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง สามารถเริ่มจากโครงงานเล็กๆ และพัฒนาให้กลายเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ขึ้นได้ โดยอาจจะทำการศึกษาทดลองในระยะเวลาที่นานขึ้น และอาจพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายแตกต่างกันไป นับว่าเป็นการส่งเสริมการเรียนวิทยาศาสตร์ระดับรากฐานและสร้างพื้นฐานการเรียนรู้ของเยาวชนไทย และเพื่อพัฒนาเยาวชนไทยให้มีความรู้ความเข้าใจทางด้านการศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันของโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อีกทั้งเป็นการยกระดับการศึกษาไทยให้มีการพัฒนาเทียบเท่านานาอารยประเทศ

          จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเด็กปฐมวัย ซึ่งที่ผ่านมาการเรียนการสอนเป็นแบบค่านิยมเดิมๆ เรียนแบบท่องจำ ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นเรียนปนเล่น กิจกรรมตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยก็เช่นกัน ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสนุกกับการเรียนรู้ โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีการหยิบเอาวิทยาศาสตร์ใกล้ตัวมาสอนให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง การส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยทำกิจกรรมตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ไม่ได้คาดหวังให้เด็กต้องฉลาด แต่ต้องการให้เด็กรู้จักการตั้งคำถาม โครงการนี้ทำให้เด็กได้พัฒนาด้านสติปัญญา ร่างกาย สังคม อารมณ์-จิตใจ ผลที่ได้ คือ เด็กเรียนอย่างมีความสุข สนุกสนาน มีพัฒนาการที่ดีขึ้น เกิดความกล้าที่จะถาม ได้พัฒนาทักษะทุกด้าน ทั้งการสังเกต จำแนก เปรียบเทียบ เด็กได้ลงมือทำ เข้าใจ และมีความพร้อมที่จะไปต่อยอดต่างๆ ได้ ที่สำคัญเห็นได้ชัดว่าเด็กมีกระบวนการเป็นขั้นตอน มีวิธีการแก้ปัญหา และนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน โครงการนี้ดีสำหรับเด็กปฐมวัย เพราะเป็นช่วงเริ่มต้นของพัฒนาการต่างๆ ทำให้เด็กมีความทรงจำที่ดีกับวิทยาศาสตร์ เพราะเด็กได้พัฒนาทั้งด้านวิทยาศาสตร์ และชื่นชอบในธรรมชาติ สำหรับผลที่ได้รับคือเด็กชอบ สนใจในวิทยาศาสตร์ เกิดความอยากรู้ กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงความคิดเห็น มีจินตนาการ สามารถนำไปใช้ในการเรียนรู้ในชั้นเรียนต่อไป

-------------------------------------------------------------------------

 


 

 

Leave a Comment

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

C Shop สินค้า 1 โรงเรียน 1 ผลิตภัณฑ์


MOE SAFETY CENTER

ข่าวกลุ่มนโยบายและแผน สพป.จันทบุรี เขต 1

IMG


บทความโดย นพรัตน์ ดาวไสว


IMG
นพรัตน์ ดาวไสว

บทความอื่นของ นพรัตน์