สพป.จันทบุรี เขต 1 IMG จังหวัดจันทบุรี About Contact Log in
IMG-LOGO

คลินิกวิชาการสารสัมพันธ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 | กลุ่มนิเทศฯ สพป.จันทบุรี เขต 1

โดย นพรัตน์ ดาวไสว - 20 พศจิกายน 2566 - อ่าน 784 ครั้ง

คลินิกวิชาการสารสัมพันธ์
กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 วันที่ 16 พ.ย. 2566

วิสัยทัศน์ "นิเทศการศึกษาแนวใหม่ ใช้กระบวนการวิจัยและเทคโนโลยีเป็นฐาน ประสานเครือข่าย พัฒนาก้าวไกล สู่ Thailand 4.0"

วันที่ 31 ตุลาคม 2566 พิธีรับตราพระราชทานและมอบเกียรติบัตรรางวัล ในการประชุมผู้บริหารสถานศึกษาครั้งที่ 5/2566


พีธีรับตราพระราชทาน

- บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับปฐมวัย ปี2565
- บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับประถมศึกษา ปี2565


พิธีมอบเกียรติบัตรรางวัล

- IQA AWARD ประจำปีการศึกษา 2564 ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- IQA AWARD ประจำปีการศึกษา 2565 ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1
- ผลการคัดเลือก Best Practice RT NT และ0-Net ไปใช้วางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1
- นักเรียนได้คะแนนเต็ม 100 คะแนน ในการประเมินคุณภาพผู้เรียน NT และการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติพื้นฐาน O-NET ประจำปีการศึกษา 2565
- การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานศึกษาออนไลน์(Transparency Assessment Online : ITA Online) ระดับคุณภาพ AA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
- สถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การน้อมนำพระบรมราโชบายด้านกาศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1


วันที่ 30 ตุลาคม 2566 กลุ่มนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา ให้การต้อนรับและร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับขอบข่ายงานของกลุ่มนิเทศฯ กับคณะนักศึกษาปริญญาโทฝึกประสบการณ์วิชาชีพฯ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี

วันที่ 31 ตุลาคม 2566

พิธีรับตราพระราชทานและมอบเกียรติบัตรรางวัลในการประชุมผู้บริหารสถานศึกษาครั้งที่ 5/2566 
- พิธีรับตราพระราชทานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยระดับปฐมวัย ปี 2565 
- บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับประถมศึกษา ปี2565


พิธีมอบเกียรติบัตรรางวัล

- นักเรียนได้คะแนนเต็ม 100 คะแนน ในการประเมินคุณภาพผู้เรียน NT และการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติพื้นฐาน O-NET ประจำปีการศึกษา 2565
- การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานศึกษาออนไลน์ (Transparency Assessment Online : ITA Online) ระดับคุณภาพ AA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
-สถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกวลที่ 10 สู่การปฏิบัติ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1


-------------------------------------------------------------------------

ตัวชี้วัดระหว่างทางและตัวชี้วัดปลายทาง
กลุ่มงานวัดและประเมินผลการศึกษา
ดร.ขวัญฤดี ไชยชาญ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชั้น ป. 1 ถึง ม.6 ซึ่งมีทั้งสิ้น 2,056 ตัวชี้วัด จำแนกเป็น ตัวชี้วัดระหว่างทาง 1,285 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดปลายทาง 771 ตัวชี้วัด โดยให้แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตัวชี้วัดระหว่างทาง ตัวชี้วัดปลายทาง ดังนี้

ตัวชี้วัดระหว่างทาง

เป็นตัวชี้วัดที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และเน้นการประเมินในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นหลัก (Formative Assessment) เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (Assessment for learning) และประเมินขณะเรียนรู้ (Assessment as learning) ด้วยวิธีการประเมินที่หลากหลายโดยเน้นการวัดและประเมินผลแบบไม่เป็นทางการ (Informal Assessment) เช่น การสังเกตพฤติกรรม การสอบปากเปล่า การพูดคุย การใช้คำถาม การเขียนสะท้อนการเรียนรู้ การประเมินตนเอง เพื่อนประเมินเพื่อน เป็นต้น ซึ่งเป็นการวัดและประเมินผลแบบไม่เป็นทางการ (Informal Assessment)

ตัวชี้วัดปลายทาง

เป็นตัวชี้วัดที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นที่การประเมินผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน (Summative Assessment) ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เน้นการวัดและประเมินผลแบบเป็นทางการ (formal Assessment) เช่น การประเมินการปฏิบัติ การประเมิน แฟ้มสะสมงาน การประเมินด้วยแบบทดสอบ การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน เป็นต้น การเก็บข้อมูลดังกล่าว ใช้ในการวัดและประเมินที่ได้ผลเป็นคะแนน และนำไปใช้ในการเปรียบเทียบ เช่น เปรียบเทียบระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียน เพื่อดูพัฒนาการหรือใช้เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ เมื่อสิ้นสุดการสอนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ หรือรายวิชา วิธีการและเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลผลการเรียนรู้แบบเป็นทางการ (formal Assessment) เป็นตัวแทนของระดับความสามารถของผู้เรียน เป็นข้อมูลที่ต้องได้มาจากวิธีการวัดที่เหมาะสมกับลักษณะ ข้อมูล เครื่องมือวัดและประเมินผลมีความเที่ยงตรง (Validity) และมีความเชื่อมั่น (Reliability) มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบและเชื่อถือได้ (Acceptable)

-------------------------------------------------------------------------


Leave a Comment

เค้กมะปี๊ดจี๊ดเมืองจันท์

C Shop สินค้า 1 โรงเรียน 1 ผลิตภัณฑ์


MOE SAFETY CENTER

ข่าวกลุ่มนโยบายและแผน สพป.จันทบุรี เขต 1

IMG


บทความโดย นพรัตน์ ดาวไสว


IMG
นพรัตน์ ดาวไสว

บทความอื่นของ นพรัตน์