สพป.จันทบุรี เขต 1 IMG จังหวัดจันทบุรี About Contact Log in
IMG-LOGO

ออมเงิน (กระปุกออมสินจากกระป๋องแป้ง)

โดย วรรณี รวีโภชน์ศิริ - 21 กันยายน 2563 - อ่าน 687 ครั้ง

 

กิจกรรม ปลูกฝังและส่งเสริมการออม สำหรับเด็กปฐมวัย

ออมเงิน (กระปุกออมสินจากกระป๋องแป้ง)

 

                  การออมเงิน เป็นหนึ่งกิจกรรมที่สำคัญในการสร้างวินัยให้กับเด็ก ๆ ช่วยให้เด็กรู้จักประหยัดอดออม และรู้จักการรอคอย เพราะกว่าที่เด็ก ๆ จะได้สิ่งของนั้น ๆ มาจะต้องใช้เวลาในการออมเงิน ดังสำนวนไทยที่ว่า "เก็บหอมรอมริบ" ซึ่งก็คือ การเก็บรวบรวมไว้ทีละเล็กทีละน้อย ค่อย ๆ เก็บสะสมจนพอกพูนมากขึ้นในที่สุด นอกจากนี้ การออมยังเป็นหนึ่งในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต และแนวทางการปฏิบัติตนของคนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับสังคม ชุมชน ไปจนถึงระดับครัวเรือน หรือแม้แต่ในเด็กเล็ก ๆ เพื่อปลูกฝังให้เด็กรู้จักอดออม เติบโตอย่างสมวัย และมีการดำเนินชีวิตที่ปลอดภัย

คุณธรรมและเป้าหมาย

                   ปลูกฝังให้นักเรียนตระหนักถึงการออมและการใช้เงินอย่างรู้คุณค่าตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

  

ปลูกฝังการออม

                     คราวนี้เรามาดูวิธีการเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับการส่งเสริมการออมให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการต่าง ๆ ที่เด็ก ๆ สามารถหาเงินออมได้ด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นวิธีที่ดีสำหรับเด็ก ๆ ในการเรียนรู้ทักษะชีวิตจริง จะทำให้เด็กรู้ว่าถ้าเด็ก ๆ รู้จักการใช้จ่ายอย่างประหยัด โดยสร้างความเข้าใจให้เด็กรู้ว่าเงินคืออะไร ซึ่งผู้ปกครองสามารถชี้นำความเข้าใจนั้นด้วยกิจกรรมง่าย ๆ ที่ผู้ปกครองกับเด็ก ๆ อาจจะช่วยกันทำได้ ดังนี้ 

การประดิษฐ์กระปุกออมสิน

                      ผู้ปกครองอาจจะให้เด็กประดิษฐ์กระปุกออมสินน่ารัก ๆ จากเศษวัสดุเหลือใช้ภายในบ้าน เช่น ออมสินจากแกนกระดาษทิชชู่ กล่องนม ขวดน้ำ ฯลฯ แต่ที่สำคัญต้องแน่ใจว่าเด็กพร้อมที่จะทำโดยไม่เป็นการบังคับ นอกจากเด็กจะได้ลงมือทำด้วยตัวเองแล้วเด็ก ๆ ยังได้ใช้จินตนาการในการสร้างสรรค์ผลงาน มีความสุขสนุกสนานแล้วยังสร้างความภูมิใจในผลงานของเด็กเองอีกด้วยค่ะ


การสร้างกฎกติกา

                      โดยผู้ปกครองอาจจะกำหนดตารางงานบ้านที่เด็กช่วยเหลือได้เล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ล้างจาน พับผ้า ล้างผัก รดน้ำต้นไม้ กวาดถูบ้าน ฯลฯ เมื่อเด็กช่วยทำงาน ผู้ปกครองอาจให้เป็นเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นค่าแรงแลกกับการทำงานบ้าน ซึ่งผู้ปกครองต้องอธิบายให้เด็ก ๆ เข้าใจด้วยว่าที่คุณแม่ให้เงิน เพราะเห็นว่าลูกมีน้ำใจช่วยเหลืองานบ้าน แม่ก็จะให้เงินเป็นค่าตอบแทน เมื่อลูกอยากได้ของใช้หรือของเล่นอะไรก็ให้เก็บออมจากเงินที่แม่ให้ เมื่อเก็บได้ครบตามจำนวน ก็ให้เอาเงินออมนั้นไปซื้อของที่ลูกอยากได้

                       เมื่อนักเรียนมีเงินเหลือมาจากโรงเรียน หรือได้เงินจากการช่วยเหลืองานบ้านนักเรียนก็จะนำมาหยอดกระปุกกระป๋องแป้ง

สรุป

                       นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 ออมเงินทุกคน ใช้เงินอย่างรู้คุณค่าและประหยัด มุ่งเน้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ เริ่มตั้งแต่อายุน้อยๆ นักเรียนจะมีรากฐานและสร้างนิสัยในการใช้เงินที่ดี และสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ และมีความสุขต่อไปในอนาคต























 

Leave a Comment

กล้วยส้มอารมณ์ดี

C Shop สินค้า 1 โรงเรียน 1 ผลิตภัณฑ์


MOE SAFETY CENTER

ข่าวกลุ่มนโยบายและแผน สพป.จันทบุรี เขต 1

IMG


บทความโดย วรรณี รวีโภชน์ศิริ


IMG
วรรณี รวีโภชน์ศิริ