นิเทศก์ news

คลินิกวิชาการสารสัมพันธ์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 13 | กลุ่มนิเทศฯ สพป.จันทบุรี เขต 1

โดย - 27 มีนาคม 2567

คลินิกวิชาการสารสัมพันธ์

กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1

ปีที่ 2 ฉบับที่ 13 วันที่ 28 มี.ค. 2567

วิสัยทัศน์ "นิเทศการศึกษาแนวใหม่ ใช้กระบวนการวิจัยและเทคโนโลยีเป็นฐาน ประสานเครือข่าย พัฒนาก้าวไกล สู่ Thailand 4.0"


          วันที่ 10-11 มีนาคม 2567  นางธิติกาญจน์ พัฒน์อมรไชย  รองผอ.กลุ่มนิเทศฯ สพป.จันทบุรี เขต 1  ร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานศึกษาออนไลน์ (Integrity and Transparency Assessment : ITA Online) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567  ณ โรงแรมริเวอร์ไวต์  กรุงเทพมหานคร


          วันที่ 11-15 มีนาคม 2567  นางสาวสกุลยา ผลบุญ  ศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  ร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการบรรณาธิการกิจเอกสารประกอบการขับเคลื่อนการพัฒนาหลักสูตรและส่งเสริมการศึกษาปฐมวัย  ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพมหานคร


          วันที่ 12 มีนาคม 2567  นางลัดดาวัลย์ วิเศษะภูติ  รองผอ. สพป.จันทบุรี เขต 1  พร้อมด้วย ศน.มลฑา ศรีเสริม  นิเทศ กำกับ และติดตามการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560  ปีการศึกษา 2566  ณ รร.วัดหนองบัว  รร.วัดเกาะขวาง  และรร.วัดโป่งแรด


          วันที่ 13 มีนาคม 2567  นายวริทธิ์นันท์ วิทยม  นางมลฑา ศรีเสริม  และนางสาวเพลินพิศ กอบตระกูล  ศึกษานิเทศก์ สพป.จันทบุรี เขต 1  ลงพื้นที่การปฏิบัติการมัคคุเทศก์น้อยพาทัวร์  ณ พิพิธภัณฑ์พานิชย์นาวี จันทบุรี


          วันที่ 13 มีนาคม 2567  นายสุริยนต์ กัลยาณี  ผอ. สพป.จันทบุรี เขต 1  เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ถิ่นฐานบ้านเกิด การส่งเสริมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง คุณธรรม จริยธรรม (มัคคุเทศก์น้อยพาทัวร์) กิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการมัคคุเทศก์น้อย  โดยมี ศน.วริทธิ์นันท์ วิทยม  และทีมศึกษานิเทศก์  เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ  โดยมี ผศ. นันทภัค บุรขจรกุล  ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาการท่องเที่ยวและนวัตกรรมการบริการ  เป็นวิทยากร  ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 สพป.จันทบุรี เขต 1


          วันที่ 13 มีนาคม 2567  นางลัดดาวัลย์ วิเศษะภูติ  รองผอ. สพป.จันทบุรี เขต 1  พร้อมด้วย ศน.มลฑา ศรีเสริม  นิเทศ กำกับ และติดตามการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560  ปีการศึกษา 2566  ณ รร.บ้านช่องกะพัด  รร.บ้านโคกวัด  และรร.วัดขุนซ่อง (ห้องเรียนเคลื่อนที่บ้านคลองโปร่ง)


-------------------------------------------------------------------------


เรียนดีมีความสุขด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ E-Learning

กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

นายพรณรงค์  ทรัพย์คง


          E-Learningในปัจจุบันหมายถึง การเรียนเนื้อหาหรือสารสนเทศสำหรับการสอนหรือการอบรม ซึ่งใช้นำเสนอด้วยตัวอักษร ภาพนิ่ง ผสมผสานกับการใช้ภาพเคลื่อนไหววีดิทัศน์และเสียง โดยอาศัยเทคโนโลยีของเว็บ (Web Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีระบบการจัดการคอร์ส (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่าง ๆ โดยผู้เรียนที่เรียนจาก E-Learningนี้ ส่วนใหญ่แล้วจะศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ ซึ่งหมายถึงจากเครื่องที่มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งวันนี้จะขอนำเสนอประโยชน์ของการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือ E-Learningดังนี้

               1.ทำให้เกิดการเรียนการสอนแก่ผู้เรียนในวงกว้าง ซึ่งใช้การถ่ายทอดผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่นคอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต สัญญาณโทรศัพท์ สัญญาณดาวเทียมก็ได้

               2.เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์สามารถเก็บได้ตลอดไป เรียกใช้งานง่าย ได้ตลอดเวลา

               3.เนื้อหาที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน ผู้สอนจำนวนมากสามารถอัปโหลดเนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์ได้ตลอดเวลา

               4.ค้นหาข้อมูลได้สะดวกและรวดเร็ว ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

               5.มีการจดจำที่ดีขึ้น เพราะผู้เรียนสามารถเลือกเนื้อหาตามความถนัด และความสนใจของตนเอง

               6.เป็นการเรียนที่ผู้เรียนจะได้รับ เนื้อหาเหมือนกันทั่วประเทศ

               7.ทำให้ผู้สอนสามารถติดตามการเรียนของผู้เรียนได้ตลอดเวลา และ วัดผลการเรียนด้วยตัวเองหรือครูได้อัตโนมัติ

               8.ทำให้ผู้เรียนและผู้สอน มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น โดยการโต้ตอบทางอินเตอร์เน็ต

               9.ค่าใช้จ่ายในการทำสื่อการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ต้นทุนน้อยกว่า การเรียนการสอนปกติ เพราะเมื่อลงทุนแล้ว ไม่ต้องลงทุนซ้ำ เพียงแค่เพิ่มเติมเนื้อหาให้ทันสมัย ไม่ต้องซื้อหนังสือหรืออุปกรณ์เพิ่มเติม ไม่ต้องบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอด

               10.สื่อการเรียนรู้แบบอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ และ ความสนใจมากกว่าสื่อการเรียนรู้แบบเก่า

          จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นว่าการเรียนแบบออนไลน์ (E-Learning)บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ศึกษา เรียนรู้ ค้นหาข้อมูลด้วยตนเอง ซึ่งรู้จักคิด วิเคราะห์ กล้าที่จะแสดง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้สอนและผู้เรียน หรือระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองมากขึ้น โดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา และอำนวยความสะดวก เนื่องจากการเรียนรู้แบบออนไลน์ (E-learning) ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลาโดยผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยยังสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในเรื่องของลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง

          ในเมื่อเรามาสู่ยุคของการใช้แพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้ก็ขอแนะนำแพลตฟอร์มObec Content Center โปรแกรมที่รวบรวมเนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์ครอบคลุมองค์ความรู้ด้านการศึกษาสำหรับ นักเรียน, นักศึกษา, ครู, อาจารย์, ศึกษานิเทศก์, บุคลากรทางการศึกษา รวมถึงประชาชนทั่วไปไว้มากที่สุด ประกอบด้วยสื่อการเรียนรู้คุณภาพที่ผ่านการตรวจสอบว่าเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่จำนวน 8 ประเภท ได้แก่ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิดีทัศน์ รูปภาพ เสียง สื่อมัลติมีเดีย ข้อสอบ สื่อประเภทแฟลช รวมถึง เทมเพลต โดยผู้ใช้งาน สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นทั้งในระบบปฏิบัติการ Android และiOS เพื่อทำการติดตั้งและใช้งานได้ทันที โดยสามารถเข้าถึงเนื้อหาต่างๆ เพื่อการเรียนรู้ตามอัธยาศัยได้ทุกที่ ทุกเวลา หรือใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในห้องเรียน ที่บ้าน และทุกที่ๆ ต้องการอย่างไร้ขีดจำกัด ตอบโจทย์การเรียนรู้ในยุคดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์แบบ

สามารถลงทะเบียนเข้าใช้งานได้ที่https://contentcenter.obec.go.th

อ้างอิงข้อมูลจากhttps://yotee002.wordpress.com , https://info.contentcenter.obec.go.th


-------------------------------------------------------------------------

ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลการตอบคำถามของสัปดาห์ที่ผ่านมา




 


 


 


 

 


 


 


 


 


 


Leave a Comment