สพป.จันทบุรี เขต 1

วิจัยชั้นเรียน


ชื่อเรื่องการวิจัย

           การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเกิดข้างขึ้นข้างแรม โดยใช้แบบจำลองการเกิดข้างขึ้นข้างแรม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่
6

วัตถุประสงค์การวิจัย

        1.เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเกิดข้างขึ้น ข้างแรมโดยใช้แบบจำลองการเกิดข้างขึ้นข้างแรม 
        2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบจำลองการเกิดข้างขึ้นข้างแรม

วิธีดำเนินการวิจัย

1. ประชากร/กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา

        กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนวัดแสลง (เขมราษฎร์วิทยาคาร) จำนวน 28 คน โดยเป็นนักเรียนที่คัดเลือกแบบเจาะจง

2. เครื่องมือการวิจัย

        2.1.แบบจำลองการเกิดข้างขึ้น ข้างแรม
        2.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเกิดข้างขึ้น ข้างแรม จำนวน 1 ฉบับ  มี 10 ข้อ

3.วิธีการเก็บข้อมูล

ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลดังนี้

3.1คัดเลือกนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา
2562 จำนวน 28 คน โดยผู้วิจัยได้เป็นครูผู้สอน ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ว 16101
ซึ่งเป็นนักเรียนที่คัดเลือกแบบเจาะจง ทำการทดสอบก่อนเรียน

3.2วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจากคะแนนการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน เรื่อง การเกิดข้างขึ้น ข้างแรม ก่อนการจัดการเรียนรู้ด้วย โดยใช้แบบจำลอง

3.3ดำเนินการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลอง
3.4ให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังดำเนินการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมีข้อคำถาม แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4ตัวเลือก รวมจำนวน ทั้งหมด 10 ข้อ (เป็นแบบทดสอบชุดเดียวกับ ก่อนการทดลองแต่เรียงข้อสลับกัน )

3.5วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจากคะแนนการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองการเกิดข้างขึ้น ข้างแรม

4.สถิติที่ใช้ และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

     4.1. หาค่าร้อยละ
     4.2.ค่าเฉลี่ย (Mean) ของคะแนนหลังเรียน 
     4.3ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

สรุปผลการวิจัย

        นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่6มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ เรื่องการเกิดข้างขึ้นข้างแรม
หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองการเกิดข้างขึ้น ข้างแรม มีค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน
8.54 คิดเป็นร้อนละ 85.4 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนร้อยละ100


กล่องแสดงความคิดเห็น



บทความโดย พจนา ศรีกระจ่าง


พจนา
พจนา ศรีกระจ่าง


IMG